ประเด็นสำคัญ
• นักลงทุนให้ความสนใจว่าตลาดหุ้นถึงจุดต่ำสุดหรือยัง เราจึงทำการศึกษาย้อนหลังโดยใช้ปัจจัยตัวแปรความเชื่อมั่นของผู้บริโภคผลตอบแทนตลาดหุ้นในช่วงที่มีวิกฤติ
• จากกราฟแสดงถึงดัชนีความเชื่อมั่น (Consumer Confidence) จัดทำโดย Conference board (เส้นสีแดง) เปรียบเทียบกับดัชนีความเชื่อมั่น ที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน (เส้นสีดำ) ขณะที่กราฟเส้นสีฟ้าด้านล่างแสดงถึงส่วนต่าง (Spread) ระหว่างตัวเลขความเชื่อมั่นทั้งสองซึ่งจะเห็นว่าทุกๆ ครั้งก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯ และนำไปสู่การปรับฐานอย่างรุนแรงในตลาดหุ้น เราจะเห็นว่า Spread ทำจุดสูงสุดทุกวิกฤติทั้งในช่วงต้นปี 1990 ในสหรัฐฯ วิกฤติดอตคอมในปี 2000 วิกฤติซับไพร์มในปี 2008 และวิกฤติโควิด-19 ในปี 2020 ซึ่งจะเห็นว่าดัชนี้ใช้เป็นสัญญาณเตือนวิกฤติได้ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ไม่ต่างจาก Inverted Yield Curve ที่เราเคยได้วิเคราะห์ไปก่อนหน้านี้
Pi Comment
แม้ว่าเราจะมองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นในช่วงที่เหลือของปีถึงต้นปีหน้าจากการคลายความกังวลเรื่องเงินเฟ้และการชะลอขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ แต่เราคงต้องดูความชัดเจนอีกว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยุติการขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่และหลังจากนี้จะดำเนินนโยบายการเงินอย่างไร ขณะที่ในด้านงบดุลเองก็เห็นถึงการลดในเชิงรุกมากขึ้นในเดือน ต.ค. – พ.ย. ดังนั้นเรายังมองเห็นความเสี่ยงของการปรับฐานของตลาดหุ้นสหรัฐฯ รวมถึงหุ้นไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า ซึ่งจะเป็นจังหวะที่ดีในการสะสมหุ้นอีกครั้งหนึ่ง